Support
AspirationladotTV
0899514205
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

Sukunya Polsrila

sawatdhana@gmail.com | 06-02-2556 | เปิดดู 192 | ความคิดเห็น 0

 TRADEMARK PROTECTION AT BORDER POINTS

1.  วัตถุประสงค์ของการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้า ณ จุดส่งออกและนำเข้า
      เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ และเพื่อให้สินค้าที่ส่งออกไปนอกหรือเข้ามาในราชอาณาจักร มีเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมายไม่ว่าจะได้จดทะเบียนไว้ในหรือนอกราชอาณาจักร

 

2.  เครื่องหมายการค้าที่ขอรับความคุ้มครอง
     เครื่องหมายการค้าที่จะขอรับความคุ้มครองได้ ต้องเป็นเครื่องหมายการค้าที่เจ้าของได้จดทะเบียนไว้แล้ว สำหรับสินค้าไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือหลายชนิด โดยถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนไว้ในหรือนอกราชอาณาจักร และมีอยู่ในบัญชีรายชื่อที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้แจ้งไปยังกรมศุลกากร

 

3.  การแจ้งขอรับความคุ้มครอง
      3.1 เจ้าของเครื่องหมายการค้า หรือผู้รับมอบอำนาจ ที่ประสงค์จะขอรับความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าของตน ให้ปฏิบัติดังนี้ 
                     3.1.1 แจ้งความจำนงต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พร้อมทั้งแสดงหลักฐานตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ และวิธีการ ตามที่กำหนดในประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกและการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.2530 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2530 
                     3.1.2 ร้องขอต่อพนักงานศุลกากร เพื่อให้ตรวจสอบเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าที่มีการส่งออกหรือนำเข้าในกรณีที่มีเหตุสงสัยว่าจะมีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของตน ก่อนที่พนักงานศุลกากรจะทำการตรวจปล่อยสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักรหรือส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้นำเข้าในแต่ละครั้ง 
      3.2 สินค้าหรือสิ่งของที่ไม่สามารถแจ้งความจำนงต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าขอรับความคุ้มครอง หรือร้องทุกข์ต่อพนักงานศุลกากรเพื่อให้ตรวจสอบเครื่องหมายการค้า ได้แก่
                     3.2.1 ของใช้ส่วนตัวหรือของใช้บ้านเรือนที่ผู้เดินทางออกไปนอกหรือเข้ามาในราชอาณาจักรนำติดตัวออกไปหรือเข้ามาด้วยในปริมาณที่สมควร
                     3.2.2  ของที่ระลึกที่ผู้เดินทางออกไปนอกหรือเข้ามาในราชอาณาจักรนำติดตัวออกไป หรือเข้ามาด้วยในปริมาณที่สมควร

 

4.  เอกสารประกอบการแจ้งขอรับความคุ้มครอง
      4.1 เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ในประเทศไทย ให้แนบเอกสารดังต่อไปนี้พร้อมคำขอ
                     4.1.1 สำเนาหนังสือคู่มือรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งมีคำรับรองว่าเป็นสำเนาถูกต้อง  หรือสำเนาทะเบียนแบบและเครื่องหมายการค้าซึ่งมีคำรับรองจากเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจให้คำรับรอง รับรองว่าเป็นสำเนาถูกต้อง
                     4.1.2 ต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจ กรณีที่มอบอำนาจให้ตัวแทนกระทำการแทน
                     4.1.3 ต้นฉบับหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคล ซึ่งมีคำรับรองของผู้มีอำนาจให้คำรับรองและออกให้ภายในกำหนดเวลาไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ได้ออกหนังสือรับรองนั้น สำหรับในกรณีที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าเป็นนิติบุคคล
                     4.1.4 กรณีที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร เอกสารตาม 4.1.2 และ 4.1.3 ที่ได้กระทำขึ้นนอกราชอาณาจักร จะต้องมีคำรับรองของเจ้าพนักงานโนตารีปับลิก และกงสุลไทยหรือสถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศนั้นด้วย
                     4.1.5 หนังสือยินยอมรับผิดชอบของผู้ขอรับความคุ้มครองในความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการร้องขอรับความคุ้มครอง
                     4.1.6 ตัวอย่างสลากเครื่องหมายการค้าจริงที่ใช้กับสินค้าชนิดนั้นๆ
      4.2 เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักร ให้แนบเอกสารดังต่อไปนี้พร้อมคำขอ
                     4.2.1 สำเนาหนังสือสำคัญหรือเอกสารอื่นที่แสดงว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนโดยมีคำรับรองจากสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของประเทศนั้นๆ และเอกสารดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
                                    ก. ชื่อเจ้าของเครื่องหมายการค้า
                                    ข. คำและหรือรูปเครื่องหมายการค้า
                                    ค. จำพวกและรายการสินค้า
                                    ง. เงื่อนไขและข้อจำกัด (ถ้ามี)
                                    จ. วันยื่นคำขอจดทะเบียนและวันสิ้นอายุการจดทะเบียน
                     4.2.2 ต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจ กรณีที่มอบอำนาจให้ตัวแทนกระทำการแทน
                     4.2.3 ต้นฉบับหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคล ซึ่งมีคำรับรองของผู้มีอำนาจให้คำรับรองและออกให้ภายในกำหนดเวลาไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ได้ออกหนังสือรับรองนั้น สำหรับในกรณีที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าเป็นนิติบุคคล
                     4.2.4 เอกสารตาม 4.2.1 , 4.2.2 และ 4.2.3 ที่ได้กระทำขึ้นนอกราชอาณาจักร ให้นำหลักเกณฑ์ตามข้อ 3.1.4 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
                     4.2.5 หนังสือยินยอมรับผิดชอบของผู้ขอรับความคุ้มครองในความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการร้องขอรับความคุ้มครอง
                     4.2.6 ตัวอย่างสลากเครื่องหมายการค้าจริงที่ใช้กับสินค้าชนิดนั้นๆ

 

5. แบบการแจ้งความจำนง
      การแจ้งความจำนงต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพื่อขอรับความคุ้มครองต้องทำตามแบบ ที่กำหนด คือ แบบฟอร์มคำขอแจ้งความจำนงขอรับความคุ้มครองเครื่องหมายการค้า ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปและการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.2530
      เจ้าของเครื่องหมายการค้า (หรือผู้รับมอบอำนาจ) ที่ประสงค์จะแจ้งขอรับความคุ้มครองเครื่องหมายการค้า ณ จุดส่งออกและนำเข้า สามารถยื่นคำขอต่อสำนักงานป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา กรมทรัพย์สินทางปัญญา   

 

ความคิดเห็น

วันที่: Sat May 04 20:06:58 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0